ดาวเทียม THEOS-2 ดาวเทียมดวงใหม่ของไทยขึ้นไปโคจรอยู่บนท้องฟ้าแล้ว ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงหนึ่งในโครงการ THEOS-2 ที่ดำเนินการโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA แล้วดาวเทียม THEOS-2 คือ ดาวเทียมอะไร มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
THEOS-2 ดาวเทียมดวงใหม่ของไทย มีหน้าที่อะไร ต่างจาก THEOS-2A อย่างไร
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา ดาวเทียม THEOS-2 ของไทยก็ปล่อยขึ้นสู่วงโคจรสำเร็จแล้ว หลังจากที่ต้องเลื่อนมา 1 ครั้ง จากกำหนดการเดิมวันที่ 7 ตุลาคม ดาวเทียม THEOS-2 เป็นดาวเทียมในโครงการ THEOS-2 ที่ดำเนินการโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA โดยในโครงการนี้มีดาวเทียม 2 ดวง คือ THEOS-2 ที่ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรแล้ว และ THEOS-2A ที่ดวงเล็กกว่า และจะนำขึ้นสู่วงโคจรในปีหน้า

ภาพจาก facebook.com
สำหรับดาวเทียม THEOS-2 เป็นดาวเทียมสำรวจโลก หรือ Earth Observation Satellite ต่อเนื่องจาก ดาวเทียม THEOS-1 หรือ ไทยโชต ที่ถูกส่งขึ้นไปสู่อวกาศตั้งแต่ปี 2008 และยังใช้งานจนถึงทุกวันนี้
ขนาดของ ดาวเทียม THEOS-2
ดาวเทียม THEOS-2 มีขนาด กว้าง 1.4 เมตร ยาว 1.2 เมตร และสูง 1.8 เมตร น้ำหนักประมาณ 425 กิโลกรัม จะโคจรระดับต่ำห่างจากพื้นโลกประมาณ 621 กิโลเมตร

ภาพจาก gistda.or.th
หน้าที่ของ ดาวเทียม THEOS-2
โดยหน้าที่ของดาวเทียม THEOS-2 นี้ก็คือการถ่ายภาพความละเอียดสูงในระดับ 50 เซนติเมตรต่อ pixel ซึ่งก็ละเอียดกว่า THEOS-1 ถึง 14 เท่า และยังพัฒนาให้เป็นข้อมูลสามมิติได้อีกด้วย สามารถนำไปสร้างแผนที่ที่ละเอียดได้ถึง 1 ต่อ 1000 โดยตัวกล้องจะมีความยาวโฟกัสประมาณ 15 เมตร เป็นกระจก 3 ชิ้น มีเซนเซอร์ขาวดำ TDI ขนาด 24 state และมีเซนเซอร์สี 4 ช่วงคลื่น
เพราะสามารถถ่ายภาพได้ละเอียดมาก เลยมีประโยชน์ในการทำแผนที่ความละเอียดสูง และนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาประเทศได้ หลายด้าน จะมีด้านไหนบ้างนั้น หลายด้านเช่น การวางแผนพื้นที่การเกษตร การจัดการนํ้า พื้นที่ป่า และการวางฝังเมือง

ภาพจาก youtube.com
ดาวเทียม THEOS-2A
โครงการ THEOS-2 ยังมีดาวเทียมอีกดวงที่ชื่อ THEOS-2A หรือ THEOS-2 SmallSAT ที่มีขนาดเล็กกว่าดาวเทียม THEOS-2 คือมีขนาดประมาณ 100 กิโลกรัม และที่พิเศษสุด ๆ คือ ดาวเทียมดวงนี้มีวิศวกรดาวเทียมไทยกว่า 20 คน ออกแบบและพัฒนาด้วย โดยใช้ระยะเวลาพัฒนานานกว่า 2 ปี แถมยังมีชิ้นส่วนที่ผลิตโดยคนไทยอยู่ด้วย

ภาพจาก facebook.com
หน้าที่ของดาวเทียม THEOS-2A
และตอนนี้ดาวเทียม THEOS-2A ก็ได้ถูกนำมาทดสอบที่ศูนย์ทดสอบดาวเทียมแห่งชาติที่ศรีราชา ก่อนที่จะนำขึ้นไปสู่อวกาศ ซึ่งหน้าที่ของดาวเทียมดวงนี้มี 3 อย่าง
- ถ่ายภาพที่มีความละเอียด 1 เมตรต่อ 1 pixel
- ตรวจจับเรือ หรือเครื่องบินแปลกปลอม
- ทดสอบอุปกรณ์ที่ราคาย่อมเยา เพื่อดูว่ามันทำงานในอวกาศได้ไหม
ซึ่งถ้าอุปกรณ์เหล่านั้นทำงานได้ดี นั้นก็แปลว่า ต้นทุนของดาวเทียมก็จะถูกลง ซึ่งอาจจะถูกจนระดับที่ทุก ๆ มหาวิทยาลัยสามารถสร้างดาวเทียมได้เลย

ภาพจาก gistda.or.th
ดาวเทียมของไทย
ดาวเทียมที่เราน่าจะคุ้นเคยที่สุดก็คือไทยคม ใช้สำหรับระบบสื่อสารและอินเตอร์เน็ต ซึ่งตอนนี้ก็มีถึงไทยคม 8 แล้ว แต่ดวงที่กำลังทำงานอยู่มี 4 ดวง นั่นก็คือ ไทคม 4, 6, 7 และ 8 ส่วนอีก 4 ดวงที่เหลือก็คือเขาปลดระวางแล้ว ซึ่งดาวเทียมค้างฟ้าเหล่านี้ โดยมากก็จะถูกส่งไกลออกไปอยู่ในวงโคจรสุสาน
นอกจากนี้ก็ยังมีดาวเทียม นภา 1 และ 2 ของกองทัพอากาศที่เป็นดาวเทียมสำรวจเหมือนกัน นับว่าเป็นความก้าวหน้าด้านอวกาศของไทยที่ไปไกลมาก ๆ

ภาพจาก lesa.biz
ติดตามชมรายการ ไอที 24 ชั่วโมง ตอน “THEOS-2 ดาวเทียมดวงใหม่ของไทย ทำอะไรได้บ้าง มีหน้าที่อะไร ต่างอะไรกับ THEOS-2A อย่างไร” ได้ที่รายการย้อนหลังตอนนี้เลย
https://www.it24hrs.com/2023/theos-2/
ออกอากาศวันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 2566
รายการไอที 24 ชั่วโมง ทางช่อง 9MCOT HD ทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.00 น.
ยังมีบทความที่น่าสนใจ
ส่งอีเมล (E-Mail) ผิด! แก้ไขได้ ยกเลิกทัน ถ้าทำแบบนี้
https://www.it24hrs.com/2023/e-mail-mistake/
อย่าลืมกดติดตามอัปเดตข่าวสาร เทคนิคดีๆกันนะคะ Please follow us
Youtube it24hrs
Twitter it24hrs
Tiktok it24hrs
facebook it24hrs
ติดต่อโฆษณา [email protected] โทร 0802345023