ถึงแม้ว่า 9Near จะตัดสินใจไม่ปล่อยข้อมูลส่วนตัว 55 ล้านราย จนทำให้เราสบายใจขึ้นได้บ้าง แต่เรื่องข้อมูลหลุดแบบในกรณีนี้ไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่เกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว จนเราต้องมีวิธีการรับมือ เมื่อข้อมูลของเราหลุดออกไป แต่ก่อนที่เราจะพูดถึงวิธีรับมือนั้น เรามาดูกันก่อนว่า ข้อมูลอะไรที่หลุดไปแล้วเป็นอันตรายกับตัวเรา
ยังไม่จบ! ข้อมูลคนไทยรั่ว เตรียมรับมือทั้งประเทศ แล้วยังไงต่อ? – YouTube
ข้อมูลส่วนบุคคลแบ่งเป็นอะไรบ้าง ?
ตามกฏหมาย PDPA ของไทย ข้อมูลส่วนบุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) คือ ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ข้อมูลพื้นฐาน ที่สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม
ตัวอย่าง ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data)
- ชื่อ-นามสกุล หรือชื่อเล่น
- เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขบัตรประกันสังคม, เลขใบอนุญาตขับขี่, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, เลขบัญชีธนาคาร, เลขบัตรเครดิต (การเก็บเป็นภาพสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรอื่น ๆ ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลที่กล่าวมาย่อมสามารถใช้ระบุตัวบุคคลได้โดยตัวมันเอง จึงถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล)
- ที่อยู่, อีเมล์, เลขโทรศัพท์
- ข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เช่น IP address, MAC address, Cookie ID
- ข้อมูลระบุทรัพย์สินของบุคคล เช่น ทะเบียนรถยนต์, โฉนดที่ดิน
- ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลข้างต้นได้ เช่น วันเกิดและสถานที่เกิด, เชื้อชาติ,สัญชาติ, น้ำหนัก, ส่วนสูง, ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ (location), ข้อมูลการแพทย์, ข้อมูลการศึกษา, ข้อมูลทางการเงิน, ข้อมูลการจ้างงาน
- ข้อมูลหมายเลขอ้างอิงที่เก็บไว้ในไมโครฟิล์ม แม้ไม่สามารถระบุไปถึงตัวบุคคลได้ แต่หากใช้ร่วมกับระบบดัชนีข้อมูลอีกระบบหนึ่งก็จะสามารถระบุไปถึงตัวบุคคลได้ ดังนั้น
- ข้อมูลการประเมินผลการทำงานหรือความเห็นของนายจ้างต่อการทำงานของลูกจ้าง
- ข้อมูลบันทึกต่าง ๆ ที่ใช้ติดตามตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคคล เช่น log file
- ข้อมูลที่สามารถใช้ในการค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ต
2.ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (Sensitive Personal Data) ข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเรื่องส่วนตัว แต่มีความละเอียดอ่อนและสุ่มเสี่ยงต่อการถูกใช้ในการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม อาจสร้างความรู้สึกเชิงบวกหรือลบให้กับเจ้าของข้อมูล จึงจำเป็นต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ตัวอย่าง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Personal Data)
- เชื้อชาติ
- เผ่าพันธุ์
- ความคิดเห็นทางการเมือง
- ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา
- พฤติกรรมทางเพศ
- ประวัติอาชญากรรม
- ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ หรือข้อมูลสุขภาพจิต
- ข้อมูลสหภาพแรงงาน
- ข้อมูลพันธุกรรม
- ข้อมูลชีวภาพ
- ข้อมูลทางชีวมิติ (Biometric) เช่น รูปภาพใบหน้า, ลายนิ้วมือ, ฟิล์มเอกซเรย์, ข้อมูลสแกนม่านตา, ข้อมูลอัตลักษณ์เสียง, ข้อมูลพันธุกรรม
- ข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล เช่นข้อมูลของผู้ที่เสียชีวิต ข้อมูลของนิติบุคคล บริษัท มูลนิธิ สมาคม องค์กร
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากข้อมูลส่วนตัวหลุด
1 ถูกนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย เช่น เลขที่บัตรประชาชนถูกนำไปใช้ในการเปิดบัญชีเพื่อฉ้อโกงผู้อื่น จนทำให้เจ้าของข้อมูลอาจโดนดำเนินคดีไปด้วย หรือภาพและคลิปส่วนตัวอาจทำให้เจ้าของข้อมูลโดนข่มขู่แบล็กเมล
2 โดนโจรกรรมทางการเงิน เช่น ใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้า ถูกโอนเงินจากบัญชีธนาคาร แก๊งคอลเซ็นเตอร์เอาข้อมูลไปใช้หลอกดูดเงิน
3 ถูกนำไปทำการตลาดต่อหรือส่งต่อแก๊งคอลเซนเตอร์ นำมาหลอกลวง เช่น เอาไปขายให้บริษัทอื่น ทำให้เราถูกรบกวนด้วยโฆษณาขายสินค้าและบริการต่าง ๆ หรือที่น่ากลัวมากๆก็คือนำไปให้กับแก๊งค์คอลเซนเตอร์โทรมาหลอกลวง หรือส่ง sms มาหลอกลวง
4 ถูกปลอมแปลงตัวตน เอาข้อมูลของเราไปแอบอ้างเป็นเราแล้วทำเรื่องที่เสียหายหรือผิดกฎหมาย หรือแม้แต่เอาไปดำเนินธุรกรรมกับธนาคาร
ถ้าข้อมูลบัตรประชาชนของเราหลุดไป อันตรายยังไงบ้าง?
โดยปกติชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ของเรา หาได้ไม่ยากอยู่แล้ว แต่ถ้าคนร้ายรู้ข้อมูลสำคัญของเราเช่นเลขประจำตัวประชาชนบนบัตรประชาชน 13 หลักของเรา และหากรู้เลขบัญชีธนาคารของเรา กรณีนี้อันตรายมากๆ เพราะคนร้ายสามารถนำข้อมูลเหล่านี้รวมกัน ไปปลอมเป็นตัวเรา แล้วแอบเข้าไปใช้บริการ หรือเปลี่ยนแปลงธุรกรรมอะไรบางอย่างได้ เช่นการติดต่อธนาคารเพื่อหลอกโอนเงินจากบัญชีองเราได้เลย

ถ้าข้อมูลของเราหลุดไปแล้ว เราจะต้องทำอย่างไร? ป้องกันตัวยังไงได้บ้าง?
ตอนนี้เรารู้แล้วว่าข้อมูลของเราน่าจะหลุดไป ซึ่งหมายความว่า เราต้องระวังตัวมากยิ่งขึ้น หลังจากนี้ถ้ามีใครโทรศัพท์ หรือไลน์ติดต่อเราเข้ามา แล้วบอกข้อมูลเราได้ถูกต้องทั้งหมด ก็อย่าเพิ่งหลงเชื่อว่า เขารู้จักเรา เขาอาจจะเอาข้อมูลของเราที่หลุดไปนั้นมาหลอกเราอยู่ก็ได้ ดังนั้นต้องมีสติ ระวังตัวเอาไว้มากๆ อย่าหลงทำตามที่เขาสั่ง และอาจใช้วิธีขอเบอร์โทรกลับ และเบอร์นั้นควรจะเป็นเบอร์ออฟฟิศไม่ใช่เบอร์มือถือ หากเขาไม่ให้ก็ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่ามีพิรุธ อาจเป็นผู้มาหลอกลวง
การเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้เราปลอดภัยขึ้นได้ ยิ่งถ้าได้รับสายจากเบอร์แปลกๆ คนที่เราไม่รู้จักบ่อยๆ การเปลี่ยนเบอร์อาจจำเป็น แม้ว่าจะยุ่งยากหน่อย แต่มันก็เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้เราปลอดภัยจากมิจฉาชีพ อาจจะใช้สองเบอร์ เบอร์หนึ่งไว้ใช้สำหรับการมช้งานทั่วไป ส่วนอีกเบอร์ใช้เฉพาะเรื่องสำคัญเช่น แอปธนาคาร หรือแอปสำคัญที่เราต้องเก็ยรักษาไว้เป็นความลับ
เปลี่ยน Username Password และใช้การ log in แบบ Multi-factor Authentication ก็จะช่วยให้เราปลอดภัยขึ้นได้เหมือนกัน
อ้างอิง openpdpa.org ETDA
อ่านบทความและข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ it24hrs.com
ข้อมูลหลุด ข้อมูลบัตรประชาชนหลุด จะเกิดอันตรายอะไรกับเราได้บ้าง ? แล้วเราต้องทำอย่างไร ?
อย่าลืมกดติดตามอัปเดตข่าวสาร ทิปเทคนิคดีๆกันนะคะ Please follow us
Youtube it24hrs
Twitter it24hrs
Tiktok it24hrs
facebook it24hrs