อากาศร้อนๆ แบบนี้แต่พอเจอบิล “ค่าไฟ” ทีถึงกับหนาวกันเลยทีเดียว ค่าไฟมันแพง งั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าเรามีวิธีประหยัดไฟยังไงได้บ้าง
“ค่าไฟ” กลายประเด็นร้อนไม่แพ้อากาศจนติดเทรนด์ทวิตเตอร์ช่วงก่อนหน้านี้ แบบนี้เราคงต้องประหยัดไฟกันบ้างแล้วล่ะ แต่ก่อนที่จะไปดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไร กินไฟเท่าไหร่ เรามาดูก่อนดีกว่าว่าค่าไฟประกอบด้วยอะไรบ้าง
ส่วนประกอบของ ค่าไฟ
ค่าไฟที่เราจ่ายกันอยู๋ทุกวันนี้ประกอบด้วยทั้งหมด 4 ส่วน
- ค่าพลังงานไฟฟ้า
- ค่าบริการรายเดือน
- ค่า Ft
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
ซึ่งค่าไฟจะมีการคิดแบบขั้นบันไดหมายความว่า และจะมีการปรับค่า Ft ทุกๆ 4 เดือน โดยค่า Ft ก็คือค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงในการผลิตไฟ และค่าซื้อไฟฟ้าของ กฟผ.โดยในงวดเดือน ม.ค. – เม.ย. ค่าไฟจะเฉลี่ยรวมอยู่ที่หน่วยละ 4.72 บาท
เหตุผลที่จ่าย ค่าไฟ แพงขึ้นทั้งๆ ที่ใช้เท่าเดิม
หลายๆ คนอาจสงสัยว่า ทำไมค่าไฟช่วงหน้าที่ผ่านมามันแพงจัง ทั้งที่ก็ใช้เท่าเดิม ทาง กฟน. ก็ยืนยันว่าเก็บค่าไฟต่อหน่วยเท่าเดิมไม่ได้มีการขึ้น แต่ก็ได้ให้สาเหตุที่บิลค่าไฟออกมาแพงก็เพราะ อากาศที่ร้อนมีผลต่อการใช้ไฟ ไม่ใช่เพียงแค่เราต้องเปิดแอร์มากขึ้น แต่เพราะแอร์จะทำงานหนักขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่นถ้าอุณหภูมิภายนอกอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส แล้วเราเปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส แอร์จะต้องทำงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ได้ 4 องศาเซลเซียส แต่ถ้าอุณหภูมิภายนอกขึ้นไปถึง 40 องศาเซลเซียส เท่ากับว่าแอร์ต้องลดอุณหภูมิลงถึง 14 องศาเซลเซียส แอร์จึงทำงานหนักขึ้น เลยกินไฟมากกว่าเดิม
10 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้เผยแพร่ข้อมูล 10 อันดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าจอมกินไฟเริ่มต้นที่…
อันดับ 10 พัดลมขนาด 12 – 18 นิ้ว จะกินไฟอยู่ที่ 35 – 80 วัตต์
อันดับ 9 ตู้เย็นขนาด 40 – 735 ลิตร กินไฟอยู่ที่ 70–145 วัตต์
อันดับ 8 หม้อหุงข้าวขนาด 1–3 ลิตร กินไฟอยู่ที่ 450–1,000 วัตต์
อันดับ 7 เครื่องซักผ้าทั้งแบบตั้ง และแบบถังนอน กินไฟอยู่ที่ 450 – 2,500 วัตต์
อันดับ 6 เครื่องปรับอากาศ ชนิด INVERTER ขนาด 9,000 – 36,000 บีทียู/ชั่วโมง กินไฟอยู่ที่ 455 – 3,300 วัตต์
อันดับ 5 เครื่องปรับอากาศ ชนิด FIXED SPEED ขนาด 9,000 – 36,000 บีทียู/ชั่วโมง กินไฟอยู่ที่ 730 – 3,300 วัตต์
อันดับ 4 เตาไมโครเวฟ ขนาด 20 – 32 ลิตร กินไฟ 1,000 – 1,880 วัตต์
อันดับ 3 ไดร์เป่าผมกินไฟอยู่ที่ 1,000 – 2,200 วัตต์
อันดับ 2 เตารีดทั้งแบบแห้ง แบบไอน้ำ กินไฟสูงถึง 1,000 – 2,600 วัตต์
อันดับ 1 เครื่องทำน้ำอุ่น กินไฟสุดๆถึง 3,500 – 8,000 วัตต์
ภาพ www.egat.co.th
ที่นี้เราก็รู้แล้วนะคะว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าอันไหนกินไฟจุๆ กันบ้าง เราจึงคสรเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดไฟโดยดูจากฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่ออกโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
วิธีประหยัดไฟ
- เครื่องปรับอากาศ : เลือกเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดห้อง และไม่ควรตั้งอุณหภูมิให้เย็นจัด เพราะทุกอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส จะช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 10% แล้วถ้าเปิดพร้อมกับการเปิดพัดลมก็จะยิ่งช่วยให้ประหยัดไฟได้มากขึ้น ที่สำคัญปิดประตูและหน้าต่างให้สนิท พร้อมกับล้างแอร์อย่างน้อยทุก 6 เดือน
- ตู้เย็น : ลดการเปิด-ปิดประตูตู้เย็น ไม่เปิดทิ้งไว้โดยไม่จำเป็น และควรวางตู้เย็นห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร ปรับอุณภูมิให้เหมาะสมกับความหนาแน่นของของในตู้เย็น และอย่าลืมสังเกตอุณหภูมิจากสภาพแวดล้อมประกอบด้วย ถ้าหากเป็นในฤดูหนาวก็ไม่ต้องจำเป็นปรับอุณหภูมิให้เย็นมากก็ได้
- พัดลม : เลือกพัดลมที่มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน เปิดความแรงเบอร์ 1 ปิดและถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน รวมถึงหมั่นทำความสะอาดใบพัดอยู่เสมอ
- เตารีด : รีดผ้าครั้งละหลายๆ ชิ้น ไม่พรมน้ำมากจนเกินไป และถอดปลั๊กก่อนเสร็จสิ้นการรีดประมาณ 2 นาที โดยใช้ความร้อนที่เหลืออยู่ในเตารีดเพื่อรีดผ้าชนิดที่ไม่ต้องการความร้อนมากได้ เช่น ผ้าบางๆ อย่างผ้าเช็ดหน้า
- โทรทัศน์ : ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพราะถึงเราจะเปิดเครื่องแล้ว ไฟก็ยังเข้าไปเลี้ยงในตัวเครื่องอยู่ดี
วิธีใช้คอมพิวเตอร์ให้ประหยัดไฟ
ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊กจะไม่ติดอันดับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ แต่มันก็เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราต้องใช้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ให้ออกมาแนะนำ 6 วิธีใช้คอมพิวเตอร์ให้เซฟค่าไฟ
- เลือกมุมในการทำงาน ให้มีแสงสว่างเพียงพอ เปลี่ยนจากการใช้ไฟฟ้าในบ้านมาเป็น ใช้แสงจากธรรมชาติ
- เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงานที่มีสัญลักษณ์ Energy Star ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา หรือ EPA รับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าที่ช่วยด้านการประหยัดพลังงานถึง 30%
ภาพ en.wikipedia.org/wiki/Energy_Star โพสโดย the Environmental Protection Agency - ตั้ง Sleep Mode เมื่อไม่ได้ใช้งาน จอภาพและฮาร์ดดิสก์ก็ได้พักผ่อนด้วย ทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลง
- ถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน แม้เราจะปิดคอมพิวเตอร์ไปแล้ว แต่ไฟฟ้าก็ยังจ่ายมาเลี้ยงที่ตัวเครื่อง ดังนั้นควรถอดปลั๊กคอมพิวเตอร์ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
- ตั้งคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มีการระบายความร้อนได้ดี เพื่อให้คอมพิวเตอร์ไม่ทำงานหนักและร้อนจนเกินไป
- 6 เลือกขนาดหน้าจอให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจอภาพเล็กจะช่วยประหยัดพลังงานมากกว่าจอใหญ่ และจอ LCD หรือ LED ก็จะช่วยให้ประหยัดไฟมากขึ้น
หวังว่าเคล็ดลับประหยัดไฟดีๆ เหล่านี้จะช่วยคุณประหยัดค่าไฟได้ไม่มากก็น้อย จะได้ไม่ต้องหนาวเมื่อเจอบิลค่าไฟ และเป็นการช่วยกันลดใช้พลังงาน ดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วยนะ
ติดตามชมในรายการดิจิทัลไทยแลนด์ ( Digital Thailand ) ตอน ร้อนๆ แบบนี้ใช้ไฟยังไงไม่ให้เจอค่าไฟแพง https://www.it24hrs.com/2023/Electric-bill-save/
ออกอากาศวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาค 2566 ในรายการ Digital Thailand
ทางช่อง 3 กด 33 ทุกวันเสาร์เวลา 4.40-5.05 น.
อย่าลืมกดติดตามอัปเดตข่าวสาร เทคนิคดีๆกันนะคะ Please follow us
Youtube it24hrs
Twitter it24hrs
Tiktok it24hrs
facebook it24hrs
ติดต่อโฆษณา [email protected] โทร 0802345023