- ผู้ประกอบการมีศักยภาพ ยังไม่เข้มแข็งพอ
- ผู้ประกอบการขาดข้อมูลด้านแหล่งเงินทุน
- ผู้ประกอบการขาดส่งเสริมด้านภาษี ค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ย
- ผู้ประกอบการขาดแนวคิดและวิธีการแปลงสินทรัพย์ทางปัญญาเป็นทุน
- มาตรการให้ความรู้ผู้ประกอบการไอซีที SMEs เกี่ยวกับการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินในระบบ สร้างทักษะด้านเทคนิคให้เข็มแข็ง มีศักยภาพสูงขึ้น นอกจากเรื่องการเงินแล้ว ผู้ประกอบการต้องมีทักษะความรู้ด้วย เพราะต้องแข่งขันกับต่างประเทศอีก (คาดว่าจะเริ่มมาตรการได้ในปี 2557 เพียงปีเดียว ซี่งเป็นมาตรการระยะสั้นแต่เร่งด่วน)
- มาตรการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์) เพราะปัญหาผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ในประเทศไทยนั้น แปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้น้อย ( มาตรการระยะยาว 2557-2561 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถแปลงสินทรัพย์ทางปัญญาเป็นเงินทุนได้ )
- มาตรการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่นๆ ต้องจัดตั้งศูนย์ที่ปรึกษาที่ให้ข้อมูลแหล่งเงินทุน (มาตรการระยะกลาง 2557-2559 เพื่อให้มีฐานข้อมูลไปค้นคว้าหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการ ซึ่งจะอยู่ที่ศูนย์ที่ปรึกษา)
- มาตรการสินเชื่อผู้ประกอบการ SMEs ICT ส่งเสริมนโยบายจากภาครัฐในด้านยกเว้น ลดหย่อนภาษี ส่งเสริมสถาบันการเงินพิจารณาลดดอกเบี้ยเงินกู้ หรือจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ( 2557-2560 เพื่อให้มีศูนย์ประสานงานอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และมีกิจกรรมด้านแหล่งสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ
- มาตรการส่งเสริมเข้าถึงแหล่งเงินทุน จากต่างประเทศ อย่างน้อย 2 ประเทศ (คือไทย และจากต่างประเทศอีก 1 ) ซึ่งต้องตั้งที่ปรึกษาแหล่งเงินทุนที่จะให้ข้อมูลความรู้ในด้านแหล่งเงินทุน (มารการระยะยาว ดำเนินปี 2558-2560)
- มาตรการภาษีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ICT เพื่อการลดหนี้นอกระบบ ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือเรื่อง ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม (มาตรการระยะกลาง ดำเนินปี 2557-2559 )
ซี่งคาดว่าทั้ง 6 มาตรการที่กระทรวงไอซีทีจะใช้ สามารถแก้ปัญหาผู้ประกอบการได้ และได้ประโยชน์จากโครงการนี้
กองทุนสำหรับ SMEs ICT
เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้น มีกฎหมายรองรับออกตามพระราชบัญญัติภายใต้กระทรวง MICT มีฐานะนิติบุคคล โดยจัดตั้งสำนักงานขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เป็นผู้บริหารกองทุนและความสามารถใช้ความเป็นนิติบุคคลในการทำนิติกรรมเพื่อเพิ่มทุนของกองทุนภายใต้กำกับของ MICT โดยลักษณะการสนับสนุน ทางด้านการเงินของกองทุน
- การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ SMEs ICT
- การร่วมลงทุน Venture Capital (VC)
- การให้เงินอุดหนุนแก่ SMEs ICT
การบริหารเงินทุน ดำเนินโดย คณะกรรมการระดับนโยบาย , คณะกรรมการบริหารสำนักกองทุน และ สำนักงานกองทุน
ผู้จัดการกองทุน
- ส่วนของเงินอุดหนุน ให้มีคณะกรรมการแต่งตั้งโดยกรรมการบริหารกองทุน หรือมอบหมายกระทรวง MICT
- ส่วนสินเชื่อนั้น สำนักงานกองทุนควรพิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินจัดการ
- การร่วมลงทุน ( VC) อาจดำเนินงบริหารกองทุนในส่วนนี้เอง โดยให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นต่างหาก หรือมอบหมายให้สถาบันการเงิน หรือ บริษัท VC ดูแลบริหารเงินกองทุนส่วนนี้
ขั้นตอนทางกฎหมาย ระเบียบภาครัฐ โดยเสนอ พรบ จัดตั้งกองทุน ( 20 ขั้นตอน ใช้เวลา 6-12 เดือน)
กระบวนการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนของกองทุน
- ตาม พรบ.เงินคงคลัง พ.ศ.2491 มาตรา 3 และ มาตรา 12
- ประเภทของทุนหมุนเวียนเพื่อการสนับสนุนส่งเสริม
- สำนักกำกับและพัฒนาระบบเงินนอกงบประมาณ กรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง
ประโยชน์ของ ศูนย์ให้คำปรึกษาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ
- บริการช่องทางเข้าถึงแหล่งทุนในระบบที่เหมาะสมทั้งในและต่างประเทศ
- ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ สิทธิประโยชน์ทางภาษี การแปลงสินทรัพย์เป็นเงินทุน เพื่อจัดทำคำขอสินเชื่อจากแหล่งทุน
- บริการให้คำปรึกษาแนวทางทำแผนธุรกิจเพื่อระดมทุนมวลชน ( Crowd Funding ) จากทั่วโลกผ่านทางเครือข่ายสังคม
- บริการสินเชื่อ หรือ บริการจับคู่ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (VC ) ให้กับ ICT SMEs