หลายคนอาจเพิ่งจะเคยได้ยินชื่อ “กฎหมาย UCA” นี้ด้วยซ้ำ ซึ่งเมื่อไม่นานนี้ก็มีการจัดการสัมนาเกี่ยวกับกฏหมายนี้ และการแข่งขัน การปรับตัวของผู้ส่งออกไทย……กฏหมาย UCA นี้คือกฏหมายป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพราะบางบริษัทสามารถมีต้นทุนในการผลิตสินค้าที่ถูกกว่าบริษัทอื่นๆได้ เพราะใช้ไอทีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้ได้เปรียบทางการค้าอย่างไม่ขาวสะอาด ดังนั้น กฏหมายนี้จึงกำหนดให้ผู้ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาต้องใช้แต่เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งซอฟแวร์หรือฮาร์ดแวร์ ของแท้ ในการดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์ และยังกำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าในอเมริกาซื้อแต่สินค้าที่ผลิตจากผู้ผลิต หรือผู้จัดหาวัถุดิบที่ปฏิบัติตามกฏหมายนี้เท่านั้น มิฉะนั้นจะเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง ถูกเรียกร้องค่าเสียหายในข้อหาแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม
การที่กฏหมายนี้มีผลบังคับใช้ ผู้ประกอบการจำนวนมาก ยังไม่ทราบ ซึ่งทางสภาอุตสาหกรรมและสภาหอการค้าไทยก็เริ่มมีการแนะนำกับสมาชิกบ้างแล้ว ด้านผู้ประกอบการก็ต้องเริ่มปรับตัว เปลี่ยนมาใช้ของแท้ ….และก่อนจะรับสินค้ามาจากใคร ก็ตรวจสอบให้ดี หรือร้องขอ certificate ว่าเค้าใช้ไอทีที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ เพื่อปลอดภัยไว้ก่อน ป้องกันการถูกฟ้องไปด้วย….
สาเหตุที่ออกกฎหมาย UCA นี้ เพราะพวกไอทีละเมิดลิขสิทธิ์ ใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าบริษัทที่ใช้ไอทีถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ผู้ใช้ไอทีที่ถูกต้องเสียเปรียบทางการค้า จึงเป็นที่มาของการใช้กฎหมาย UCA นี้ขึ้นมา เพื่อปกป้องผู้ใช้ไอทีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายนี้กระทบต่อผู้ผลิตทั้งหมด และกระบวนการผลิต ไม่เฉพาะแค่ในส่วนการผลิตเท่านั้น ยังรวมถึงการบริหารในการผลิตด้วย เช่น การขนส่งสินค้า บัญชีรายการสินค้า การคำนวณสินค้า ก็เข้าข่ายกฎหมาย UCA นี้ด้วยเช่นกัน
หากถูกดำเนินคดี จะได้รับบทลงโทษ ทั้งถูกเรียกค่าเสียหาย (ทั้งค่าเสียหายตามจริง , ค่าเสียหายตามกฎหมาย , และค่าเสียหายจากบุคคลที่3 ที่บุคคลขายหรือเสนอขายใช้ ไอทีละเมิดลิขสิทธิ์ หรือใช้ไอทีละเมิดลิขสิทธิ์ในการประกอบการผลิตสินค้าและส่งออก ) ยึดสินค้า และหนักสุดคือโดนคำสั่งจากศาลห้ามนำเข้าสินค้าดังกล่าวมายังสหรัฐอีก